วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเปลี่ยนไส้สปอตไลท์




บทความนี้ผมจะมาแนะนำวิธีเปลี่ยนไส้สปอตไลท์ ครับ ก่อนอื่นๆ เปิดฝาครอบไส้หลอดออกก่อนครับ



เมื่อเปิดฝาแล้วก็ถอดหลอดเ่ก่าออกนะครับ ทำความสะอาดแผ่นสะท้อนแสงด้วยครับ  เสร็จแล้วเราก็ไปหาซื้อใส้หลอดมาครับ  ตัวอย่างที่ผมนำมานี้ใช้กำลงไฟ  500 W ครับ


นำผ้ามาจับใส้หลอดแล้วใส่ได้เลยครับ


ภาพนี้ใส่เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ


ภาพนี้ผมเปิดฝาหลังมาให้ดูครับ เช็คจุต่อต่างๆครับ ที่เห็นสีเหลื่องนั้นเป็นสายกราว์นะครับ  เมื่อเปลี่ยนเรียบร้อยแล้วก็ทดลองเสียบไฟดูนะครับ

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Fan



วันนี้พอดีมีพัดลมเข้ามาซ่อม  จึงได้โอกาสนำความรู้เกี่ยวเกี่ยวกับการซ่อมพัดลมมาฝากครับ
อาการพัดลมตัวนี้ไม่หมุนมาครับ  ขั้นแรกนำมิเตอร์มาเช็คก่อนครับ

     ก่อนอื่นตั้งมิตอร์  R X 10 ก่อนนะครับแล้วทำตามภาพครับ  เสร็จแล้วกดสวิทช์พดลม
เบอร์ 1 2 3  กดทีละเบอร์นะครับ เข็มมิเตอร์ต้องขึ้นนะครับ แต่ความต้านไม่เท่ากัน ถ้าไม่
ขึ้นให้เช็คสายที่ละจุดตั้งแต่ปลั๊กตัวผู้  ไปจนถึงมอเตอร์พัดลมเลยครับ


ภาพนี้แสดงการถอดใบพัดลมครับหมุนออกหมุนตามเข็มนาฬิกานะครับ


ภาพนี้แสดงการถอดตะแกรงใบพัดลมออกครับ

เปิดฝาปิดออกครับเพื่อเช็คสวิทช์ครับ

 วงจรไฟฟ้าครับ
 
ไ้ด้สวิทช์แล้วครับ ใช้ย่านโอห์ม  R X 10 เช็คสายทุกจุดเลยครับ เช็คหน้าสัมผัส
ของสวิทช์ด้วยครับ

 
Cap พัดลมครับ ทำหน้าที่เพิ่มแรงบิดให้พัดลม ถ้าเสียมอเตอร์พัดลมจะสตาร์ไม่ออกครับ
วิธีเช็คก็ง่ายๆ ครับตั้งมิเตอร์ R X 10 นำสายมิเตอร์จับที่สาย Cap เข็มมิเตอร์จะขึ้่้นแล้วจะลด
ลงครับ ถ้าขึ้นค้างช็อตครับ ถ้าไม่ขึ้นขาด ต้องเปลี่ยนครับ ซื้อตามความจุเดิม  ตัวนี 1.5 uF 
ครับ

ตังมอเตอร์ครับ สังเกตง่ายถ้าขดลวดมีสีดำไหม้ครับ หรือถ้าไม่ไหม้ ก็มีฟิวส์ที่ป้องกัน
ขดลวดขาด ต้องยี่ห้อดีๆนะครับถึงมีตัวละ สามร้อยกว่าบาทส่วนมากไม่มีครับ


   ภายในมอเตอร์ครับ  ที่ขดลวดติดอยู่เรียกว่าสเตเตอร์ครับ ตัวที่เป็นเพราเรียกว่าโรเตอร์ครับ ตัวเพราโรเตอร์นี้หมุนไปนานๆ จะสึกสังเกตง่ายจับเพราแล้วโยกถ้าขึ้นลงได้หลวม
แล้วครับต้องเปลี่ยนบูชคู่ไปด้วย ไม่งั้นเดี๋ยวก็พังอีก


   ถ่ายให้ดูบูชครับ รูตรงกลางนั่นแหละครับ ส่วนมากจะพังบ่อย ถ้าจับใบพัดลมหมุนแล้วฝืดใช่เลยครับพอได้ความรู้บ้างนะครับ ถ้าคนที่ไม่มีความรู้ด้านช่างเลยก็ค่อนข้างยากนะครับ อย่าลองผิดลองถูกต่อนะครับอันตราย ต้องดูตามวงจรให้ดีครับ


วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

UPS




     พอดีมี  UPS เข้ามาซ่อมเป็นอาการของแบตเตอร์รี่เสีย เลยมาแสดงวิธีเปลี่ยน แบตเตอร์รี่ครับซึ่งคนพอมีความรู้ทางช่างก็พอที่จะทำได้ครับ ก่อนอื่นที่จะทำการเปลี่ยนแบตเตอร์รี่นะครับเรามาวิเคราะอาการเสียดูก่อนนะครับ  ก่อนอื่นถ้าเราใช้ UPS กับเครื่อง COMPUTER ใช้งานตามปกติ ในขณะที่ฝนตกไฟฟ้าดับเครื่อง COMPUTER ของเราดับโดยที่ไม่มีการร้องเตือน ส่านหนึ่งอาจมาจากแบตเตอร์รี่เสียครับ โดยทั่วไปแบตเตอร์รี่จะมีอายุการใช้งาน ประมาณ 2 ปีครับ ในการต่อ UPS กับ COMPUTER ไม่คารต่อ Load ไฟฟ้าอย่างอื่นเข้าไปพ่วงนะครับ ควรต่อใช้กับ  COMPUTER กับ PRINTER  เท่าน้ันครับ เพราะถ้าเราต่อ Load ทางไฟฟ้ามากจะทำให้ UPS ทำงานหนักครับ อาจทำให้ UPS เสียหายได้ครับ ทีนี้เราลองมาสังเกตดูแบตเตอร์รี่บ้างครับถ้ามีของเหลวไหลรั่วออกมานอกแบตเตอร์รี่ให้เปลี่ยนได้เลยครับ


ภาพนี้เป็นลักษณะภายใน  UPS ครับ



ภาพเป็นวงจรควบคุมครับ



ภาพนี้เป็นทรานฟอร์เมอร์ครับ



แบตเตอร์รี่ที่เราจะเปลี่ยนครับ


แบตเตอร์รี่ที่ถอดออกมาแล้วครับ  สังเกตขั้วลบหักออกไปแล้วครับ ลูกนี้มีของเหลวไหลออกมาด้วยครับซื่อเปลี่ยนได้เลย เป็นชนิดแบตแห้งนะครับ 12 V  7.2  A ราคาอยู่ประมาณ 500  บาทนะครับเวลาใส่ต้องใส่ให้ถูกขั้วนะครับ  ลองเปลี่ยนดูนะครับ บทความนี่ขอจบก่อนนะครับรู้สึกง่วงจังครับ 

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Transformers ทรานฟอร์เมอร์

Transformers  (ทรานฟอร์เมอร์)หรือพูดเป็นภาษาไทยก็คือหม้อแปลงไฟฟ้านั้นแหละครับ  ทรานฟอร์เมอร์ มีความจำเป็นต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ามากนะครับ เพราะ ทรานฟอร์เมอร์ ทำหน้าที่นการแปลงแรงดันไฟฟ้านะครับมีอยู่ 3 ชนิดนะครับถ้าแบ่งตามการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้านะครับ 
        1. Step up Transformers อันนี้เป็น ทรานฟอร์เมอร์ แปลงแรงดันไฟฟ้าขึ้นนะครับสมมุตินะครับขดไฟเข้า 220 โวลท์ ไฟออกจะมากกว่า  220 โวลท์
        2. Step douwn Transformers อันนี้เป็น ทรานฟอร์เมอร์ แปลงแรงดันไฟฟ้าลงนะครับสมมุตินะครับขดไฟเข้า 220 โวลท์ ไฟออกจะน้อยกว่า  220 โวลท์
        3. Step to Step  Transformer หม้อแปลงชนิดนี้เป็นแบบพิเศษครับคือ แรงดันไฟฟ้าเข้าเท่าไหนก็จะออกเท่านั้นครับ 
        ทรานฟอร์เมอร์ ที่ใช้โดยทั่วไปจะมีขดลวดอยู่สองชุดนะครับ คือขดไฟเข้าและขดไฟออกนะครับ หรือเรียกว่าขดลวดปฐมภูมิ  และ ขดลวดทุติยภูมิ พอรู้จัก ทรานฟอร์เมอร์ บ้างแล้วนะครับ ทีนี้เราลองมาดูวิธีตรวจสอบกันบ้างครับ









อันนี้เป็นรูปล่างหน้าตา Transformers
  
การเช็ค ทรานฟอร์เมอร์ด้านไฟเข้าครับ ตั้งมิเตอร์ R X  10 ครับ นำสายไฟเข้ามาต่อเข้ากับมิเตอร์ด้ังภาพครับ วัดแล้วเข็มต้องขึ้นนะครับ ถ้าขึ้นใช้ได้ครับ เช็คอย่างนี้ทั้งสองด้านนะครับ  คือด้านไฟออกด้วยถ้าขึ้นใช้ได้ครับ




 การเช็ดด้านไฟเข้าและไฟออกครับ

ทีนี้เราลองมาเช็คการลัดวงจรลงโครงบ้่งนะครับ เหมือนเดิมครับ ตั้งมิเตอร์ R X  10  สายมิเตอร์เส้นหนึ่ง ต่อที่ด้านขดไฟเข้า สายมิเตอร์อีกเส้นจิ้มลงที่โครงดังภาพครับเข็มต้องไม่ขึ้นนะครับถ้าขึ้นหม้อแปลงใช้ไม่ได้นะครับ



 
การเช็คการลัดวงจรลงโครงของ ทรานฟอร์เมอร์
         การตรวจสอบ ทรานฟอร์เมอร์ ที่ผมได้อธิบายมานี้ใช้ได้ประมาณ 70 % นะครับที่เหลือต้องใช้เครื่องมือพิเศษตรวจนะครับถึงได้ 100 %
                                           



เรื่องนี้ก็ Transformers แต่มันกว่า



วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

การซ่อมปลั๊กไฟฟ้า

ในบทความนี้เราลองมาเรียนรู้วิธีซ่อมปลั๊กที่เราใช้ที่บ้านบ้างนะครับเมื่อเสียบปลั๊กแล้วเครื่องใช้ ไฟฟ้าของเราไม่ทำงานเราจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไรบ้างครับ แต่การตรวจสอบต้องคำนึงถึง ความปลอดภัยด้วยนะครับ 1. ตรวจสอบว่ามีแรงดันไฟฟ้ามาที่ปลั๊กไหมครับขั้นตอนนี้ให้ทำตามบทความทีแล้วนะครับ ผมได้แสดงวิธีการวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไว้แล้วนะครับ ถ้ามีแรงดันไฟฟ้ามาแสดงว่าต้อง ตรวจสอบที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเราก่อนนะครับว่าปกติดีไหมถ้าไม่มีความรู้ก็ส่งช่างซ่อมครับ 2. ขั้นตอนต่อมาเรามาตรวจสอบสายไฟดูครับว่าขาดไหม อันดับแรกตั้งมัลติมิเตอร์ย่าน โอห์มก่อนดังภาพนะครับ 3. นำสายมิเตอร์เส้นใดเส้นหนึ่งเสียบที่ปลั๊กตัวผู้อีกเส้นหนึ่งเสียบที่เต้าเสียบดังภาพนะครับ แล้วดูเข็มมิเตอร์ขึ้นไหม ถ้าไม่ขึ้นให้ย้ายเข็มมิเตอร์ที่เต้าเสียบไปอีกรูหนึ่งครับ เข็มต้องขึ้น 1 ครั้ง ครับถ้าไม่ขึ้นทั้งสองรูสายขาดในครับ เสร็จแล้วย้ายสายมิเตอร์ที่เสียบที่ปลั๊กตัวผู้ไปอีก ขั้วครับ แล้วใช้สายมิเตอร์เสียบที่เต้าเสียบเหมือนเดิมครับ วัดสองรู เข็มต้องขึ้น 1 ครั้งครับ ถ้าวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลย ให้ถอดฝาครอบมาตรวจสอบครับ ว่าสายข้างในหลุดไหม 4. จุดตรวจสอบต่อไป ให้ถอดฟิวส์มาดูครับ 5. แสดงการตรวจสอบฟิวส์ครับ ตั้งมิเตอร์ย่านโอห์ม X 10 วัดแล้วเข็มต้องขึ้นนะครับไม่ขึ้นใช้ ไม่ได้ครับ ซื้อเปลี่ยนใหม่ เวลาซื้อดูกระแสข้างตัวฟิวส์ด้วยนะครับ ควรใช้ 10 - 15 แอมป์ครับ เป็นอย่างไรบ้างครับพอที่จะตรวจซ่อมปลั๊กไฟฟ้าได้แล้วนะครับ

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

การใช้ม้ลติมิเตอร์ วัดไฟกระแสตรง

การใช้มิเตอร์วัดไฟกระแสตรง ก่อนอื่นจะพูดถึงแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงก่อนครับ ก็พวกแบตเตอร์รี่ต่างๆครับ ทีนี้เรามาพูดถึงวิธีการวัดครับ สิ่งที่ต้องคำนึงคือ
1. การปรับตั้งย่านวัดให้ถูกต้องครับ ตั้งสวิทช์ที่ ย่าน DCV ครับ ตามรูปผมตั้งที่ 2.5 ครับ
เพราะผมจะวัด ถ่าน AA สายมิเตอร์ แดงเสียบรูบวกนะครับ ดำเสียบลบครับ






แสดงแดงวิธีการวัดและแรงดันไฟฟ้าที่ได้ครับ


2. แรงดันไฟฟ้าที่เราจะไปวัด ถ้าแบตเตอร์รี่รถยนต์ จะมีแรงดันไฟฟ้า 12 โวลท์ครับ ถ้าเราไม่ทราบ
ให้ปรับ ย่านแรงดันไฟฟ้าสูงสุดไว้ก่อนครับ
3. ขั้ว + - ครับ ถ้าวัดผิดขั้วเข็มจะตีกลับมิเตอร์พังได้ครับ





รูปนี้แสดงการวัดแบตแห้งครับ แรงดัน 12 โวลท์ แดง + ดำลบ นะครับ

การอ่านค่าแรงดันอ่านค่าที่ เสกล B ครับ ถ้าไม่ข้าใจ Mail มาถามได้ครับ beeaumpol@hotmail.com

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

เครื่องมือที่้ใช้ในการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักเครื่องมือที่ต้องใช้ในการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆๆก่อนนะครับ
  1. มัลติมิเตอร์ ครับเครื่องมือนี้มีความจำเป็นมากครับสำหรับงานช่างไฟฟ้า จำเป็นต้องศึกษาการใช้งานให้ดีครับ เพราะเราจะใช้วัดแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานทางไฟฟ้าครับ เดี๋ยวบทความต่อไปผมจะแนะนำวิธีการใช้ให้ครับ

2. คีมต่างๆ ครับ ฆ้อน แปลงทำความสะอาด ครับ 3. ที่ดูดตะกั่ว ไขควงเช็คไฟ คัตเตอร์ครับ 4. หัวแร้งครับ ตามรูปเป็นหัวแร้งแบบแช่ กับหัวแร้งแบบปืนครับ เอาไว้เชื่อมตะกั่วครับ พอรู้จักหน้าตาของเครื่องมือที่ใช้บ้างแล้วนะครับบทความต่อไปผมจะสอนใช้มัลติมิเตอร์ครับ

วัตถุประสงค์ของการสร้าง Blog

วัตถุประสงค์ของการสร้าง Blog Fix the electric instruments เพื่อเป็นการนำเสนอวิธีซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อให้ท่านที่สนใจได้นำความรู้ที่ได้ ไปซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้ายตนเองหรือเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้นเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ทำงาน ก่อนที่จะนำไปส่งตามร้านซ่อมต่างๆ เป็นการประหยัดรายจ่ายภายในบ้านในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี สังคมเราจะน่าอยู่ยิ่งขึ้นถ้าเรารู้จักแบ่งปัน