วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Fan



วันนี้พอดีมีพัดลมเข้ามาซ่อม  จึงได้โอกาสนำความรู้เกี่ยวเกี่ยวกับการซ่อมพัดลมมาฝากครับ
อาการพัดลมตัวนี้ไม่หมุนมาครับ  ขั้นแรกนำมิเตอร์มาเช็คก่อนครับ

     ก่อนอื่นตั้งมิตอร์  R X 10 ก่อนนะครับแล้วทำตามภาพครับ  เสร็จแล้วกดสวิทช์พดลม
เบอร์ 1 2 3  กดทีละเบอร์นะครับ เข็มมิเตอร์ต้องขึ้นนะครับ แต่ความต้านไม่เท่ากัน ถ้าไม่
ขึ้นให้เช็คสายที่ละจุดตั้งแต่ปลั๊กตัวผู้  ไปจนถึงมอเตอร์พัดลมเลยครับ


ภาพนี้แสดงการถอดใบพัดลมครับหมุนออกหมุนตามเข็มนาฬิกานะครับ


ภาพนี้แสดงการถอดตะแกรงใบพัดลมออกครับ

เปิดฝาปิดออกครับเพื่อเช็คสวิทช์ครับ

 วงจรไฟฟ้าครับ
 
ไ้ด้สวิทช์แล้วครับ ใช้ย่านโอห์ม  R X 10 เช็คสายทุกจุดเลยครับ เช็คหน้าสัมผัส
ของสวิทช์ด้วยครับ

 
Cap พัดลมครับ ทำหน้าที่เพิ่มแรงบิดให้พัดลม ถ้าเสียมอเตอร์พัดลมจะสตาร์ไม่ออกครับ
วิธีเช็คก็ง่ายๆ ครับตั้งมิเตอร์ R X 10 นำสายมิเตอร์จับที่สาย Cap เข็มมิเตอร์จะขึ้่้นแล้วจะลด
ลงครับ ถ้าขึ้นค้างช็อตครับ ถ้าไม่ขึ้นขาด ต้องเปลี่ยนครับ ซื้อตามความจุเดิม  ตัวนี 1.5 uF 
ครับ

ตังมอเตอร์ครับ สังเกตง่ายถ้าขดลวดมีสีดำไหม้ครับ หรือถ้าไม่ไหม้ ก็มีฟิวส์ที่ป้องกัน
ขดลวดขาด ต้องยี่ห้อดีๆนะครับถึงมีตัวละ สามร้อยกว่าบาทส่วนมากไม่มีครับ


   ภายในมอเตอร์ครับ  ที่ขดลวดติดอยู่เรียกว่าสเตเตอร์ครับ ตัวที่เป็นเพราเรียกว่าโรเตอร์ครับ ตัวเพราโรเตอร์นี้หมุนไปนานๆ จะสึกสังเกตง่ายจับเพราแล้วโยกถ้าขึ้นลงได้หลวม
แล้วครับต้องเปลี่ยนบูชคู่ไปด้วย ไม่งั้นเดี๋ยวก็พังอีก


   ถ่ายให้ดูบูชครับ รูตรงกลางนั่นแหละครับ ส่วนมากจะพังบ่อย ถ้าจับใบพัดลมหมุนแล้วฝืดใช่เลยครับพอได้ความรู้บ้างนะครับ ถ้าคนที่ไม่มีความรู้ด้านช่างเลยก็ค่อนข้างยากนะครับ อย่าลองผิดลองถูกต่อนะครับอันตราย ต้องดูตามวงจรให้ดีครับ


วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

UPS




     พอดีมี  UPS เข้ามาซ่อมเป็นอาการของแบตเตอร์รี่เสีย เลยมาแสดงวิธีเปลี่ยน แบตเตอร์รี่ครับซึ่งคนพอมีความรู้ทางช่างก็พอที่จะทำได้ครับ ก่อนอื่นที่จะทำการเปลี่ยนแบตเตอร์รี่นะครับเรามาวิเคราะอาการเสียดูก่อนนะครับ  ก่อนอื่นถ้าเราใช้ UPS กับเครื่อง COMPUTER ใช้งานตามปกติ ในขณะที่ฝนตกไฟฟ้าดับเครื่อง COMPUTER ของเราดับโดยที่ไม่มีการร้องเตือน ส่านหนึ่งอาจมาจากแบตเตอร์รี่เสียครับ โดยทั่วไปแบตเตอร์รี่จะมีอายุการใช้งาน ประมาณ 2 ปีครับ ในการต่อ UPS กับ COMPUTER ไม่คารต่อ Load ไฟฟ้าอย่างอื่นเข้าไปพ่วงนะครับ ควรต่อใช้กับ  COMPUTER กับ PRINTER  เท่าน้ันครับ เพราะถ้าเราต่อ Load ทางไฟฟ้ามากจะทำให้ UPS ทำงานหนักครับ อาจทำให้ UPS เสียหายได้ครับ ทีนี้เราลองมาสังเกตดูแบตเตอร์รี่บ้างครับถ้ามีของเหลวไหลรั่วออกมานอกแบตเตอร์รี่ให้เปลี่ยนได้เลยครับ


ภาพนี้เป็นลักษณะภายใน  UPS ครับ



ภาพเป็นวงจรควบคุมครับ



ภาพนี้เป็นทรานฟอร์เมอร์ครับ



แบตเตอร์รี่ที่เราจะเปลี่ยนครับ


แบตเตอร์รี่ที่ถอดออกมาแล้วครับ  สังเกตขั้วลบหักออกไปแล้วครับ ลูกนี้มีของเหลวไหลออกมาด้วยครับซื่อเปลี่ยนได้เลย เป็นชนิดแบตแห้งนะครับ 12 V  7.2  A ราคาอยู่ประมาณ 500  บาทนะครับเวลาใส่ต้องใส่ให้ถูกขั้วนะครับ  ลองเปลี่ยนดูนะครับ บทความนี่ขอจบก่อนนะครับรู้สึกง่วงจังครับ 

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Transformers ทรานฟอร์เมอร์

Transformers  (ทรานฟอร์เมอร์)หรือพูดเป็นภาษาไทยก็คือหม้อแปลงไฟฟ้านั้นแหละครับ  ทรานฟอร์เมอร์ มีความจำเป็นต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ามากนะครับ เพราะ ทรานฟอร์เมอร์ ทำหน้าที่นการแปลงแรงดันไฟฟ้านะครับมีอยู่ 3 ชนิดนะครับถ้าแบ่งตามการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้านะครับ 
        1. Step up Transformers อันนี้เป็น ทรานฟอร์เมอร์ แปลงแรงดันไฟฟ้าขึ้นนะครับสมมุตินะครับขดไฟเข้า 220 โวลท์ ไฟออกจะมากกว่า  220 โวลท์
        2. Step douwn Transformers อันนี้เป็น ทรานฟอร์เมอร์ แปลงแรงดันไฟฟ้าลงนะครับสมมุตินะครับขดไฟเข้า 220 โวลท์ ไฟออกจะน้อยกว่า  220 โวลท์
        3. Step to Step  Transformer หม้อแปลงชนิดนี้เป็นแบบพิเศษครับคือ แรงดันไฟฟ้าเข้าเท่าไหนก็จะออกเท่านั้นครับ 
        ทรานฟอร์เมอร์ ที่ใช้โดยทั่วไปจะมีขดลวดอยู่สองชุดนะครับ คือขดไฟเข้าและขดไฟออกนะครับ หรือเรียกว่าขดลวดปฐมภูมิ  และ ขดลวดทุติยภูมิ พอรู้จัก ทรานฟอร์เมอร์ บ้างแล้วนะครับ ทีนี้เราลองมาดูวิธีตรวจสอบกันบ้างครับ









อันนี้เป็นรูปล่างหน้าตา Transformers
  
การเช็ค ทรานฟอร์เมอร์ด้านไฟเข้าครับ ตั้งมิเตอร์ R X  10 ครับ นำสายไฟเข้ามาต่อเข้ากับมิเตอร์ด้ังภาพครับ วัดแล้วเข็มต้องขึ้นนะครับ ถ้าขึ้นใช้ได้ครับ เช็คอย่างนี้ทั้งสองด้านนะครับ  คือด้านไฟออกด้วยถ้าขึ้นใช้ได้ครับ




 การเช็ดด้านไฟเข้าและไฟออกครับ

ทีนี้เราลองมาเช็คการลัดวงจรลงโครงบ้่งนะครับ เหมือนเดิมครับ ตั้งมิเตอร์ R X  10  สายมิเตอร์เส้นหนึ่ง ต่อที่ด้านขดไฟเข้า สายมิเตอร์อีกเส้นจิ้มลงที่โครงดังภาพครับเข็มต้องไม่ขึ้นนะครับถ้าขึ้นหม้อแปลงใช้ไม่ได้นะครับ



 
การเช็คการลัดวงจรลงโครงของ ทรานฟอร์เมอร์
         การตรวจสอบ ทรานฟอร์เมอร์ ที่ผมได้อธิบายมานี้ใช้ได้ประมาณ 70 % นะครับที่เหลือต้องใช้เครื่องมือพิเศษตรวจนะครับถึงได้ 100 %
                                           



เรื่องนี้ก็ Transformers แต่มันกว่า