วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
ขอสวัสดีผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมนะครับ
ที่จริงแล้วควรที่จะพูดเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกก่อนที่จะสอนการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องขออภัยอย่างแรง เพราะงานไฟฟ้าเป็นงานที่อันตรายมากถึงกับเสียชีวิตได้ ไฟฟ้าทำอันตรายเราได้อย่าไร เนื่องจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเราเข้าไปแตะ และต่อเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า หรือที่มีกระแสไฟรั่วอยู่ โดยปกติร่ายกายเราจะมีความต้านทาน ประมาณ 100,000 - 600,000 โอห์ม แต่ถ้ามีความชื้นหรือเหงื่อ ความต้านทานจะลดลง อันตรายที่เกิดขึ้นอยู่กับจำนวนกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายครับ เอาง่ายๆ แค่ 8 mA กล้ามเนื้อจะกระตุกรุนแรง อาจล้มหรือตกจากที่สูงได้แล้วครับ 1 A มี 1,000 mA ครับ เป็นจำนวนกระแสไฟฟาที่น้อยมาก แต่สามารถทำอันตรายถึงชีวิต
วิธีช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูด
1. ตัดกระแสไฟฟ้าโดยปลดสวิทช์หรือคัทเอาท์
2. หากตัดไม่ได้ให้ใช้ไม้แห้ง หรือวัสดุที่เป็นฉนวนเขี่ยสิ่งทีมีกระแสไฟฟ้าออกให้พ้น
3. ให้ใช้ผ้าหรือเชือกแห้ง คล้อง ผู้ถูกไฟดูดลากออกมา
ผมมีข้อแนะนำในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า
1. อย่าใช้สวิทช์ที่ติดตั้งแบบชั่วคราว เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้
2. อย่าติดตั้งหลอดไฟฟ้าไว้ติดผ้าม่าน หรือใช้ผ้าคลุมหลอดไฟไว้
3. อย่าเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะตัวเปียก หรืออยู่ในพื้นที่ฉื้นแฉะ
4. อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด
5. ควรต่อสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า
6. อย่าใช้ขั้วต่อแยกเสียบปลั็กหลายทาง เป็นาการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกำลัง จะทำให้สายหรือ
เต้าเสียบ ร้อนทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
7. อย่าปล่อยให้สายเครื่องใช้ไฟฟ้าลอดใต้เสื่อหรือพรม หรือปล่อยให้ของหนักทับสาย จะทำให้ฉนวน
แตกชำรุด
8. อย่าเดินสายไฟเป็นการชั่วคราวอย่างลวก ๆ อาจมีใครถูกไฟฟ้าที่จุดบกพร่องได้รับอันตรายได้
9. อย่าใช้ลวดทำราวตากผ้าขึงผ่านหรือพาดสายไฟฟ้า
10. อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าภายนอกอาคารควรเป็นชนิดกันน้ำได้
11. อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ
12. ติดตั้งเสาอากาสทีวี ต้องห่างสายไฟฟ้า ไม่น้อยกว่า 3 เมตร หรือระยะเสาล้มต้องไม่โดนสายไฟ
13. เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ถ้ามีกระแสรั่วไหลต้องซ่อมทันที
14. อย่าใช้น้ำมันไวไฟล้างเครื่องใช้ไฟฟ้า ในขณะที่เสียบปลั๊กอยู่
15. ห้ามปิดหรือเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เมื่อมีก๊าชหุงต้มรั่วไหล
16. อย่าดึงปลั๊กอุปกรณ์ทุกชนิด ในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน ควรปิดสวิทช์ก่อนดึงปลั๊กออกเสมอ
17. อย่าแก้ไขไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้เรื่องไฟฟ้า
ขอให้ปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้าทุกคนครับ
ขอบคุณความรู้ดีๆ จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยครับ
ที่จริงแล้วควรที่จะพูดเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกก่อนที่จะสอนการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องขออภัยอย่างแรง เพราะงานไฟฟ้าเป็นงานที่อันตรายมากถึงกับเสียชีวิตได้ ไฟฟ้าทำอันตรายเราได้อย่าไร เนื่องจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเราเข้าไปแตะ และต่อเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า หรือที่มีกระแสไฟรั่วอยู่ โดยปกติร่ายกายเราจะมีความต้านทาน ประมาณ 100,000 - 600,000 โอห์ม แต่ถ้ามีความชื้นหรือเหงื่อ ความต้านทานจะลดลง อันตรายที่เกิดขึ้นอยู่กับจำนวนกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายครับ เอาง่ายๆ แค่ 8 mA กล้ามเนื้อจะกระตุกรุนแรง อาจล้มหรือตกจากที่สูงได้แล้วครับ 1 A มี 1,000 mA ครับ เป็นจำนวนกระแสไฟฟาที่น้อยมาก แต่สามารถทำอันตรายถึงชีวิต
วิธีช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูด
1. ตัดกระแสไฟฟ้าโดยปลดสวิทช์หรือคัทเอาท์
2. หากตัดไม่ได้ให้ใช้ไม้แห้ง หรือวัสดุที่เป็นฉนวนเขี่ยสิ่งทีมีกระแสไฟฟ้าออกให้พ้น
3. ให้ใช้ผ้าหรือเชือกแห้ง คล้อง ผู้ถูกไฟดูดลากออกมา
ผมมีข้อแนะนำในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า
1. อย่าใช้สวิทช์ที่ติดตั้งแบบชั่วคราว เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้
2. อย่าติดตั้งหลอดไฟฟ้าไว้ติดผ้าม่าน หรือใช้ผ้าคลุมหลอดไฟไว้
3. อย่าเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะตัวเปียก หรืออยู่ในพื้นที่ฉื้นแฉะ
4. อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด
5. ควรต่อสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า
6. อย่าใช้ขั้วต่อแยกเสียบปลั็กหลายทาง เป็นาการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกำลัง จะทำให้สายหรือ
เต้าเสียบ ร้อนทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
7. อย่าปล่อยให้สายเครื่องใช้ไฟฟ้าลอดใต้เสื่อหรือพรม หรือปล่อยให้ของหนักทับสาย จะทำให้ฉนวน
แตกชำรุด
8. อย่าเดินสายไฟเป็นการชั่วคราวอย่างลวก ๆ อาจมีใครถูกไฟฟ้าที่จุดบกพร่องได้รับอันตรายได้
9. อย่าใช้ลวดทำราวตากผ้าขึงผ่านหรือพาดสายไฟฟ้า
10. อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าภายนอกอาคารควรเป็นชนิดกันน้ำได้
11. อย่าปล่อยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ
12. ติดตั้งเสาอากาสทีวี ต้องห่างสายไฟฟ้า ไม่น้อยกว่า 3 เมตร หรือระยะเสาล้มต้องไม่โดนสายไฟ
13. เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ถ้ามีกระแสรั่วไหลต้องซ่อมทันที
14. อย่าใช้น้ำมันไวไฟล้างเครื่องใช้ไฟฟ้า ในขณะที่เสียบปลั๊กอยู่
15. ห้ามปิดหรือเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เมื่อมีก๊าชหุงต้มรั่วไหล
16. อย่าดึงปลั๊กอุปกรณ์ทุกชนิด ในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน ควรปิดสวิทช์ก่อนดึงปลั๊กออกเสมอ
17. อย่าแก้ไขไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้เรื่องไฟฟ้า
ขอให้ปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้าทุกคนครับ
ขอบคุณความรู้ดีๆ จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)