วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Transformers ทรานฟอร์เมอร์

Transformers  (ทรานฟอร์เมอร์)หรือพูดเป็นภาษาไทยก็คือหม้อแปลงไฟฟ้านั้นแหละครับ  ทรานฟอร์เมอร์ มีความจำเป็นต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ามากนะครับ เพราะ ทรานฟอร์เมอร์ ทำหน้าที่นการแปลงแรงดันไฟฟ้านะครับมีอยู่ 3 ชนิดนะครับถ้าแบ่งตามการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้านะครับ 
        1. Step up Transformers อันนี้เป็น ทรานฟอร์เมอร์ แปลงแรงดันไฟฟ้าขึ้นนะครับสมมุตินะครับขดไฟเข้า 220 โวลท์ ไฟออกจะมากกว่า  220 โวลท์
        2. Step douwn Transformers อันนี้เป็น ทรานฟอร์เมอร์ แปลงแรงดันไฟฟ้าลงนะครับสมมุตินะครับขดไฟเข้า 220 โวลท์ ไฟออกจะน้อยกว่า  220 โวลท์
        3. Step to Step  Transformer หม้อแปลงชนิดนี้เป็นแบบพิเศษครับคือ แรงดันไฟฟ้าเข้าเท่าไหนก็จะออกเท่านั้นครับ 
        ทรานฟอร์เมอร์ ที่ใช้โดยทั่วไปจะมีขดลวดอยู่สองชุดนะครับ คือขดไฟเข้าและขดไฟออกนะครับ หรือเรียกว่าขดลวดปฐมภูมิ  และ ขดลวดทุติยภูมิ พอรู้จัก ทรานฟอร์เมอร์ บ้างแล้วนะครับ ทีนี้เราลองมาดูวิธีตรวจสอบกันบ้างครับ









อันนี้เป็นรูปล่างหน้าตา Transformers
  
การเช็ค ทรานฟอร์เมอร์ด้านไฟเข้าครับ ตั้งมิเตอร์ R X  10 ครับ นำสายไฟเข้ามาต่อเข้ากับมิเตอร์ด้ังภาพครับ วัดแล้วเข็มต้องขึ้นนะครับ ถ้าขึ้นใช้ได้ครับ เช็คอย่างนี้ทั้งสองด้านนะครับ  คือด้านไฟออกด้วยถ้าขึ้นใช้ได้ครับ




 การเช็ดด้านไฟเข้าและไฟออกครับ

ทีนี้เราลองมาเช็คการลัดวงจรลงโครงบ้่งนะครับ เหมือนเดิมครับ ตั้งมิเตอร์ R X  10  สายมิเตอร์เส้นหนึ่ง ต่อที่ด้านขดไฟเข้า สายมิเตอร์อีกเส้นจิ้มลงที่โครงดังภาพครับเข็มต้องไม่ขึ้นนะครับถ้าขึ้นหม้อแปลงใช้ไม่ได้นะครับ



 
การเช็คการลัดวงจรลงโครงของ ทรานฟอร์เมอร์
         การตรวจสอบ ทรานฟอร์เมอร์ ที่ผมได้อธิบายมานี้ใช้ได้ประมาณ 70 % นะครับที่เหลือต้องใช้เครื่องมือพิเศษตรวจนะครับถึงได้ 100 %
                                           



เรื่องนี้ก็ Transformers แต่มันกว่า



วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

การซ่อมปลั๊กไฟฟ้า

ในบทความนี้เราลองมาเรียนรู้วิธีซ่อมปลั๊กที่เราใช้ที่บ้านบ้างนะครับเมื่อเสียบปลั๊กแล้วเครื่องใช้ ไฟฟ้าของเราไม่ทำงานเราจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไรบ้างครับ แต่การตรวจสอบต้องคำนึงถึง ความปลอดภัยด้วยนะครับ 1. ตรวจสอบว่ามีแรงดันไฟฟ้ามาที่ปลั๊กไหมครับขั้นตอนนี้ให้ทำตามบทความทีแล้วนะครับ ผมได้แสดงวิธีการวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับไว้แล้วนะครับ ถ้ามีแรงดันไฟฟ้ามาแสดงว่าต้อง ตรวจสอบที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเราก่อนนะครับว่าปกติดีไหมถ้าไม่มีความรู้ก็ส่งช่างซ่อมครับ 2. ขั้นตอนต่อมาเรามาตรวจสอบสายไฟดูครับว่าขาดไหม อันดับแรกตั้งมัลติมิเตอร์ย่าน โอห์มก่อนดังภาพนะครับ 3. นำสายมิเตอร์เส้นใดเส้นหนึ่งเสียบที่ปลั๊กตัวผู้อีกเส้นหนึ่งเสียบที่เต้าเสียบดังภาพนะครับ แล้วดูเข็มมิเตอร์ขึ้นไหม ถ้าไม่ขึ้นให้ย้ายเข็มมิเตอร์ที่เต้าเสียบไปอีกรูหนึ่งครับ เข็มต้องขึ้น 1 ครั้ง ครับถ้าไม่ขึ้นทั้งสองรูสายขาดในครับ เสร็จแล้วย้ายสายมิเตอร์ที่เสียบที่ปลั๊กตัวผู้ไปอีก ขั้วครับ แล้วใช้สายมิเตอร์เสียบที่เต้าเสียบเหมือนเดิมครับ วัดสองรู เข็มต้องขึ้น 1 ครั้งครับ ถ้าวัดแล้วเข็มไม่ขึ้นเลย ให้ถอดฝาครอบมาตรวจสอบครับ ว่าสายข้างในหลุดไหม 4. จุดตรวจสอบต่อไป ให้ถอดฟิวส์มาดูครับ 5. แสดงการตรวจสอบฟิวส์ครับ ตั้งมิเตอร์ย่านโอห์ม X 10 วัดแล้วเข็มต้องขึ้นนะครับไม่ขึ้นใช้ ไม่ได้ครับ ซื้อเปลี่ยนใหม่ เวลาซื้อดูกระแสข้างตัวฟิวส์ด้วยนะครับ ควรใช้ 10 - 15 แอมป์ครับ เป็นอย่างไรบ้างครับพอที่จะตรวจซ่อมปลั๊กไฟฟ้าได้แล้วนะครับ